วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ




การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
  
  ต้องทำความเข้าใจกับคำว่าการพัฒนานวัตกรรมเสียก่อน นวัตกรรม แปลว่าสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นการพัฒนาการเรียนการสอนก็คือการพัฒนาวิธีสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นนั่นเอง ในฐานะของครูผู้สอนการจัดทำนวัตกรรม สิ่งแรกที่ควรคำนึงนั่นก็คือ เราจะต้องอาศัยวิธีคิดที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร คือจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มีอยู่เดิมเสียใหม่ ต้องรู้จักคิดสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน การ สอนก็ต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาใช้พัฒนาผู้เรียน 


        เราสามารถมองหาแรงบันดาลใจในการสร้างหรือปรับปรุงนวัตกรรมได้ จากทุกหนทุกแห่ง นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ขอเพียงเป็นสิ่งที่แก้ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเครื่องมือที่เราเคยมีใช้อยู่เดิม ก็นับว่า บรรลุจุดประสงค์ของการเป็นนเปเป็นเเกกดหกหกนนวัตกรรม ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ ที่เราจะสร้างนวัตกรรมใดๆขึ้นมาแก้ปัญหาใดๆให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนของครูนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายของบทเรียน ลักษณะของบทเรียน ธรรมชาติแห่งการเรียนรู้ ความพร้อมในด้านการเรียนการสอน ธรรมชาติของวิชา ครูผู้สอนจำเป็นต้องรวบรวมกิจกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากการเรียนรู้ของผู้เรียนขึ้นอยู่กับลำดับขั้นของการพัฒนาทางสติปัญญา ผู้เรียนบางคนอาจเรียนได้ด้วยบทเรียนแบบโปรแกรมหรือบทเรียนสำเร็จรูป บางคนอาจใช้วิธีค้นคว้าจากห้องสมุด บางคนอาจต้องรวมกลุ่มทำการทดลองหรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งความแตกต่างของแต่ละคน ครูจำเป็นต้องทราบเพื่อจะได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

    นวัตกรรมทางการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครูเพราะ นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาด้านการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น เหตุที่ต้องมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนก็พื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งนวัตกรรมทางการศึกษามีขอบข่ายคือ เป็นการจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีใหม่ ๆ   นำเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อนมาใช้  มีการนำสื่อใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนและใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาปรับใช้กับระบบการเรียนการสอนสุดท้ายคือมีการจัดการออกแบบการวัดผลแบบใหม่เพื่อให้ผลการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น
          

     กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษานั้นสิ่งแรกต้องกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อน ซึ่งเมื่อครูได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว ก็ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้นคือ กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตร  กำหนดเป็นกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้ขึ้นเพื่อจัดสร้างเป็นต้นแบบนวัตกรรมขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเมื่อได้กรอบแนวคิดแล้วก็สร้างต้นแบบนวัตกรรม  เช่น จะจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปในรายวิชาหนึ่ง ต้องศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปว่ามีวิธีการจัดทำอย่างไรจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำต้นแบบบทเรียนสำเร็จรูปให้สมบูรณ์ตามข้อกำหนดของวิธีการทำบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับเครื่องมือที่ต้องใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ หรือเครื่องมืออื่นๆ ต้องมีการพัฒนาเครื่องมือตามวิธีการทางวิจัยด้วย จึงนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปทดลองกับผู้เรียนกลุ่มเล็ก ๆ อาจเป็น ๑ คน หรือ ๓ คน หรือ ๓ คน แล้วแต่ความเหมาะสม โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม หรือฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ แล้วเก็บผลระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และผลหลังการทดลองใช้นวัตกรรม  เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมตามหลักการต่อไป  แล้วนำผลการทดลองใช้นวัตกรรม มาปรับปรุงข้อบกพร่องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มผู้เรียนที่รับผิดชอบหรือผู้เรียนที่ต้องการแก้ปัญหาการเรียน



     นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน คือการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เครื่องมือใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงแค่ว่า ผู้จัดทำหรือครู ต้องการจะทำนวัตกรรมใด หากแต่ขึ้นอยู่กับผู้เรียนและปัญหาในการเรียนรู้ของเขา ซึ่งผู้สอนจะต้องเป็นผู้สังเกตด้วยวิธีการต่างๆ ผู้เรียนในแต่ละระดับอายุ เพศ และในแต่ละสิ่งแวดล้อม ย่อมประสบปัญหาในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ยุคสมัยก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ปัญหาแรกที่ผู้จัดทำนวัตกรรมควรแก้ไขให้ได้ก่อน คือการสร้างความเข้าใจในตัวผู้เรียน และปัญหาของเขา การนำตัวผู้สอนเองไปเปรียบเทียบโดยตรง อาจไม่สามารถทำความเข้าใจปัญหานั้นๆได้เสมอไป ประสบการณ์ของผู้สอนเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆปัจจัย ที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ผู้สอนที่จะทำนวัตกรรมทางการศึกษา จึงควรที่จะใส่ใจในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงในทุกๆมิติของสังคมของผู้เรียนด้วย
         
คุณลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาที่เราควรรู้ก็คือ เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้ได้แก่ การนำสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติกันในสังคมหนึ่งมาปรับใช้ในอีกสังคมหนึ่ง นับเป็นนวัตกรรมในสังคมนั้น เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อาจเป็นของเก่าในอีกช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อาจเป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้ว แต่ไม่ได้ผล เนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุน ต่อมาเมื่อปัจจัยและสถานการณ์อำนวย จึงนำมาเผยแพร่และทดลองใช้ใหม่ ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้ เป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ ว่าจะใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใดในบริบทนั้น  เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงาน ปกติหากการยอมรับนำไปใช้นั้น ได้กลายเป็นการใช้อย่างเป็นปกติในระบบงานของที่นั้นแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป  เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย คือยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา  เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและยากจนเกินไป ความยากง่ายของนวัตกรรมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการยอมรับนำไปใช้ หากนวัตกรรมนั้นมีลักษณะที่ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย ใช้ได้ง่าย ใช้ได้สะดวก การยอมรับนำไปใช้ก็มักเกิดขึ้นได้ง่ายไม่ต้องใช้เวลาในการเผยแพร่มากนัก

   สรุปผลจากการจัดการความรู้ เรื่องการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ดังนี้
                ๑.  ครูควรเข้าใจความหมายของคำว่า "นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน"
                ๒.  ครูต้องตระหนักถึงความสำคัญและวิธีในการ "ใช้นวัตกรรม" อย่างเหมาะสม
                ๓.  ครูต้องตระหนักถึงความสำคัญและวิธีในการ "สร้างนวัตกรรม" อย่างเหมาะสม
                ๔.  ควรจัดทำแหล่งรวบรวมนวัตกรรม ง่ายต่อการค้นคว้า หรือนำไปใช้
                ๕.  ให้แรงจูงใจแก่บุคลากรที่สร้าง หรือ ใช้นวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม
          ๕.  สถานศึกษาควรเปิดโอกาสในการจัดอบรม เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างและใช้นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนให้แก่บุคลากรให้มากขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น: