วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

องค์ความรู้เทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทย

การจัดการความรู้
เรื่อง เทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
โดย วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
*****************************

การประมวลข้อมูลความรู้ จากบุคลากรภาคนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด เทคนิค ประสบการณ์ด้านการสอน การแสดง นาฏศิลป์ไทย รวมถึงครูต้นแบบ/ผู้เชี่ยวชาญ) มาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนด้านนาฏศิลป์ไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ วิธีการสอน เทคนิคการสอน ดังนี้

ความหมายการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
          การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสาคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และนักเรียนมีโอกาสนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ครูต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ นาทางไปสู่การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง ผู้เรียนต้องรู้เป้าหมายของการค้นหาจากคาสั่งที่ครูให้ รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทางานให้สาเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ครูควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่ออานวยความสะดวก หรือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการ หรือปัญหาการเรียนรู้ของ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนาข้อมูลนั้นมาปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
          แต่เดิมแนวคิดในการเรียนการสอนยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Techer-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้กาหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการบรรยายหน้าชั้นเรียนเท่านั้น ต่อมานักการศึกษาเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อเกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง เพราะไม่ใช่วิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือลักษณะของผู้เรียน การศึกษาควรให้ความสาคัญกับ “การเรียน” มากกว่า “การสอน”แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Learner-centered, Student-centredหรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีหลักการว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทางาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจาเพียงเนื้อหาในการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยจึงได้นาหลักการเทคนิคการสอนแบบสมัยใหม่มาใช้ โดยมีวิธีการสอนหลักดังนี้

1. การสอนแบบสาธิต
          สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547) ได้อธิบายวิธีการสอนแบบสาธิตว่าเป็นการสอนทีผู้สอน
แสดงหรือกระทาให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆกับการอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรม
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตขั้นตอนการสาธิตวิธีสอนแบบนี้เหมาะสาหรับการสอนที่ต้องการให้
ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติคือผู้เรียนได้สังเกตการณ์สาธิตของครูผู้สอนแล้วปฏิบัติตามการสาธิตช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีปฏิบัติได้ดีเพราะเป็นประสบการณ์ตรงสามารถมองเห็นจากครูผู้สอนอย่างชัดเจน
ความมุ่งหมายของการสอนแบบสาธิตมีดังนี้
1. กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
2. เน้นคาถามหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ
3. อธิบายหลักการ
4. พัฒนาการฟังและการสังเกตอย่างใช้ความคิดของผู้เรียน
5. แสดงเทคนิควิธีการ
6. สรุปความเข้าใจของบทเรียน
7. แสดงวิธีใช้หลักการ
8. การทบทวนบทเรียน
          อาภรณ์ใจเที่ยง (2540) ได้กล่าวว่าแนวทางการสอนแบบสาธิตจะมีคุณค่ามากน้อยขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้วิธีสอนดังนี้
1. ในระหว่างสาธิตผู้สอนต้องเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคนโดยมั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนได้เห็นและกาลังสนใจ การสาธิตอยู่
2. ขณะที่ผู้สอนเป็นผู้แสดงการสาธิตควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมบ้าง
3. ระหว่างที่สาธิตควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม
4. ผู้สอนควรมั่นใจว่าการสาธิตนั้นๆมีประโยชน์ต่อผู้เรียน
5. ระหว่างการเรียนการสอนด้วยวิธีการสาธิตผู้สอนไม่ควรบรรยายหรืออธิบายมากเกินไปเพราะจะทาให้ การสาธิตขาดความตื่นเต้นเร้าใจ
6. ผู้สอนไม่ควรเร่งสาธิตคือสาธิตให้ผู้เรียนดูเป็นลาดับขั้นตอนไม่ควรคิดว่าการราบางอย่างผู้เรียนเข้าใจแล้ว
          จะเห็นได้ว่าการสอนแบบสาธิตนั้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างมากที่จะเน้นให้นักเรียนสังเกตและปฏิบัติตามมีความมั่นใจในการปฏิบัติกิจกรรมพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามสรุปความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนของตนและผู้เรียนมีส่วนร่วม

2. การสอนแบบฝึกปฏิบัติ
          ทิศนาแขมมณี (2545) ได้อธิบายถึงวิธีสอนโดยการให้ปฏิบัติว่าเป็นการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางเน้นการพัฒนาทักษะทางภาษาดนตรีขับร้องนาฏศิลป์และด้าน
ศิลปะเป็นต้นโดยใช้วิธีการฝึกฝนซ้าๆจนกระทั่งนักเรียนเกิดทักษะที่ต้องการถึงขั้นที่กาหนดไว้การฝึก
ปฏิบัตินี้อาจทาการฝึกในลักษณะเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มพร้อมๆกันแล้วแต่ความเหมาะสมซึ่งครูจะ
ทาหน้าที่อธิบายและสาธิตทักษะที่ต้องการฝึกฝนให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่างแล้วจึงให้นักเรียนทาการฝึกโดยมีครูคอยดูแลการฝึกให้คาแนะนาช่วยแก้ไขจุดบกพร่องจนกระทั่งนักเรียนมีทักษะที่ต้องการพัฒนาถึงระดับที่กาหนดไว้การสอนแบบฝึกปฏิบัตินี้นักเรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดเวลาเพราะเป็นการกระทาซึ่งนักเรียนทุกคนต้องฝึกปฏิบัติและขณะฝึกอาจมีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆประกอบการฝึกปฏิบัติด้วยเช่นรูปภาพภาพยนตร์เทปบันทึกเสียงหรือเทปบันทึกภาพประโยชน์ของวิธีการสอนแบบฝึกปฏิบัติคือใช้สาหรับการพัฒนาทักษะที่ต้องการเป็นการส่งเสริมการเรียนและการฝึกฝนด้วยตนเองให้นักเรียนรู้จักการเรียนรู้ด้วยการกระทาสาหรับข้อจากัดของการสอนแบบฝึกปฏิบัติคือถ้าครูใช้วิธีฝึกปฏิบัตินี้มากเกินไปจนเป็นการเฟ้อจะทาให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายและขณะที่นักเรียนทาการฝึกปฏิบัติครูควรแนะนาช่วยเหลือนักเรียนอย่างทั่วถึง
          ความสาคัญของการสอนแบบฝึกปฏิบัติเป็นการสอนที่ทาให้การเรียนการสอนสมบูรณ์เพราะ
เป็นการศึกษาที่ผสมผสานกันระหว่างภาคทฤษฎีและปฏิบัตินักเรียนได้เรียนรู้จากของจริงและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองการสอนแบบนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องการนาไปใช้ครูผู้สอนได้เห็นผลการสอนทันที สอนแล้วนักเรียนทาได้จริงหรือไม่นอกจากนี้การสอนและการเรียนแบบฝึกปฏิบัติยังมีความสาคัญของการฝึกฝนทักษะต่างๆพร้อมๆกันไปด้วย

วัตถุประสงค์สาคัญของการสอนแบบฝึกปฏิบัติ
1. เพื่อเรียนรู้ด้านวิธีการผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงจากการสังเกตและทดลอง
2. เพื่อฝึกทักษะควรเป็นทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้และฝึกเพิ่มเติมเมื่อนาไปใช้
3. เพื่ออธิบายหลักการที7มีลักษณะเป็นนามธรรมจึงต้องอาศัยการปฏิบัติให้เข้าใจ
4. เพื่อฝึกการใช้เครื่องมือ
5. เพื่อฝึกการรวบรวมข้อมูลแปลความจัดหมวดหมู่แล้วสรุปนาไปแก้ปัญหาด้วยตนเอง
6. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทดลองด้วยวิธีการต่างๆ
7. เพื่อเป็นการสนองจุดมุ่งหมายทางการศึกษาด้านทักษะพิสัย (Psychomotor) คือมุ่งให้เห็นเข้าใจสัมผัสและปฏิบัติได้ในสิ่งที่เรียน
          การจัดกลุ่มผู้เรียนในการฝึกปฏิบัติกิจกรรมของการสอนแบบฝึกปฏิบัตินั้นสามารถฝึกปฏิบัติเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มย่อยจานวนคนในแต่ละกลุ่มประมาณ 4 - 6 คนควรคละเก่งปานกลางอ่อนเข้าด้วยกันเพี่อจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันบทบาทของครูในการสอนแบบฝึกปฏิบัติเป็นการสอนที่ครูต้องเตรียมผู้เรียนโดยเร้าความสนใจและชี้แจงจุดประสงค์ในการเรียนให้ชัดเจนครูต้องสาธิตและอธิบายกระบวนการปฏิบัติและให้คาแนะนาหลังจากที 7 ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแล้วครูนาอภิปรายสรุปผลการเรียนและทาการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม (วิไลวรรณพิศประเสริฐ, 2543) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านนาฏศิลป์โดยใช้วิธีการฝึกฝนซ้าๆจนกระทั่งผู้เรียนเกิดทักษะการฝึกปฏิบัติอาจฝึกเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยครูเป็นผู้คอยดูแลช่วยเหลือให้คาแนะนาการสอนแบบฝึกปฏิบัตินักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดเวลาขณะฝึกอาจใช้สื่อ อุปกรณ์ต่างๆประกอบการฝึกปฏิบัติเช่นรูปภาพแถบบันทึกเสียงวีดีทัศน์ ประโยชน์ของการฝึกปฏิบัติคือเป็นการพัฒนาทักษะที่ต้องการให้ผู้เรียนรู้จักการเรียนรู้ด้วยการกระทาส่วนข้อจากัดคือครูใช้วิธีฝึกปฏิบัติมากเกินไปทาให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายขณะที่ผู้เรียนฝึกปฏิบัติครูควรช่วยเหลือดูแลอย่างทั่วถึง

3. การสอนแบบบรรยาย
          การสอนบรรยายหรืออธิบายเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสาคัญในการเรียนการสอนเป็นการเสนอ
เรื่องราวให้นักเรียนทราบทั้งหมดวิธีนี้อาจจะเป็นการบรรยายโดยมีอุปกรณ์การสอนประกอบหรือบรรยายโดยการสาธิตประกอบเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามหรือแสดงความคิดเห็นสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547) ได้กล่าวถึงวิธีสอนแบบบรรยายไว้ดังนี้
การสอนแบบบรรยายเป็นการสอนที่ครูสามารถสอนเนื้อหาความรู้แก่นักเรียนได้มากในคาบเวลาหนึ่งโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนผู้เรียนเป็นผู้รับฟังและจดบันทึกความรู้เป็นการประหยัดเวลาในการทากิจกรรมวิธีสอนแบบนี้จะได้เนื้อหามากกว่าวิธีสอนแบบอื่นๆครูต้องเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีควรใช้สื่อประกอบการอธิบายด้วยสามารถสอนผู้เรียนได้จานวนมากตั้งแต่ 20 - 200 คนเป็นการสอนที่มีข้อดีคือสอนได้ง่ายใช้อุปกรณ์การสอนน้อยแต่ใช้ความสามารถของผู้สอนเป็นหลักวิธีสอนแบบนี้ใช้เมื่อครูต้องการเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนเสนอเนื้อหาของบทเรียนต้องการขึ้นบทเรียนใหม่อธิบายท่าราและผู้เรียนต้องรับฟังข้อมูลก่อนการปฏิบัติกิจกรรมการสรุปสิ่งที่เรียนนับได้ว่าการสอนแบบบรรยายมีประโยชน์ต่อผู้เรียนเช่นเดียวกับการสอนแบบอื่นๆและยังคงเป็นวิธีการสอนที่ใช้กันแพร่หลายมากในปัจจุบัน

สรุปองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนเรื่องเทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ

1. เทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทยแบบแช่ท่ารา
          ในการสอนนาฏศิลป์ไทยนั้น แต่โบราณครูผู้สอนจะสอนผู้เรียน โดยเริ่มฝึกปฏิบัติท่าราตั้งแต่
การฝึกหัดเบื้องต้น ดัดมือ ตบเข่า ถองสะเอว เต้นเสา แล้วเริ่มฝึกแม่ท่า เพลงช้า เพลงเร็ว เพลงพื้นฐาน เมื่อชานาญแล้วจึงเริ่มต่อเพลงหน้าพาทย์เบื้องต้น เช่น เชิด เสมอ โอด ฯลฯ ต่อจากนั้นครูจะเลือกผู้เรียนที่มีท่วงทีลีลาสง่างาม มีทักษะการปฏิบัติท่าราที่ดี มาฝึกหัดโขนหรือละครในกระบวนท่าราของตัวละครแต่ละตัว เช่น พระราม พระลักษมณ์ สีดา ทศกัณฐ์ อิเหนา บูษบา
          การฝึกหัดท่าราในขั้นนี้ ครูจะสอนอย่างใกล้ชิด ซึ่งครูผู้สอนก็จะเป็นผู้ที่ได้รับบทบาทตัวละคร
ตัวนั้นมาก่อนจึงทาให้ครูเป็นผู้มีความชานาญเป็นอย่างมาก ครูโบราณมักจะสอนท่าราไปตามบทละคร
เน้นการราใช้บท ราตีบทตามคาร้อง ฝึกราหน้าพาทย์ชั้นสูง เช่น ตระนิมิต ตระบองกัน ชานาญ บาทสกุณี
คุกพาทย์ รัวสามลา ในการฝึกหัดท่ารานี้ผู้เรียนต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างสูงในการเรียน ต้องฝึกท่ารา
ซ้าๆ เพื่อให้จาได้ และเกิดความเข้าใจ เทคนิคการแช่ท่าราจึงเกิดขึ้นตรงนี้ วิธีการ คือให้ผู้เรียนนิ่งท่ารานั้นไว้เพื่อให้ครูจับท่ารา แก้ไขข้อบกพร่องของท่าราให้เกิดความสวยงาม เมื่อปฏิบัติท่าราในครั้งต่อไปก็จะได้ท่าที่สวยงาม ถูกต้อง
          จุดเด่น ท่าราสวยงาม ผู้เรียนแม่นยาในท่าราเป็นอย่างมาก ข้อจากัด เหมาะสาหรับสอนนักเรียนจานวนน้อย ผู้เรียนต้องมีความอดทน

2. เทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทยแบบเน้นครูเป็นสื่อ
          เทคนิคการสอนแบบนี้ จะเหมือนรูปแบบการสอนแบบโบราณ คือใช้ตัวครูเป็นสื่อ ครูเป็น
ผู้ถ่ายทอดท่าราด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นครูต้องราให้สวยที่สุด ถูกต้องที่สุด ดีที่สุด เพราะผู้เรียนต้องอาศัยตัวครูในการสังเกต แล้วเลียนแบบท่าราให้เหมือนมากที่สุด การเรียนแบบนี้เหมือนเน้นที่ตัวครูเป็นหลัก แต่ที่จริงแล้ว ครูเปรียบเสมือนสื่อของจริงซึ่งดีกว่าสื่อทางวีซีดี ซีเอไอ เพราะสื่อตัวครูสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนได้อย่างทันท่วงที เพราะการเรียนนาฏศิลป์ไทยนั้นหากไม่แก้ไขท่าราทันทีจะทาให้ผู้เรียนเกิดความเคยชินและจะจดจาสิ่งที่ผิดๆติดตัวไป การแก้ไขก็จะยากยิ่งขึ้น
          จุดเด่น ผู้เรียนเห็นสื่อที่ชัดเจน ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ทันท่วงที
          ข้อจากัด ถ้าผู้เรียนมีจานวนมาก อาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนได้ และสื่อไม่สามารถทาซ้าได้มากนักเพราะเป็นตัวบุคคล

3. เทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทยแบบสร้างข้อตกลง
          เทคนิคการสอนในลักษณะนี้ ผู้สอนมีการสร้างข้อตกลงกับผู้เรียนก่อนเรียนในด้านต่างๆ
อาทิ การปฏิบัติตัวก่อนและขณะเรียน ระเบียบวิธีปฏิบัติในการเรียน อาทิ การส่งงาน การทางานที่ได้รับมอบหมาย การแต่งกายชุดฝึกปฏิบัติ (ผ้าแดง) รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ผู้เรียนพึงมีนอกเหนือจากที่กาหนดไว้ตามหลักสูตร ซึ่งผู้เรียนและผู้สอนมีความเข้าใจตรงกัน มีความพึงพอใจในข้อตกลงต่างๆ ทาให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามตัวชี้วัด ผู้เรียนและผู้สอนมีความสุข ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และเป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่ดีของผู้เรียนได้ต่อไปในอนาคต
          จุดเด่น สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดี ผู้เรียนและผู้สอนพึงพอใจ มีความสุขในกิจกรรมการเรียนการสอน
          ข้อจากัด เหมาะกับผู้เรียนจานวนไม่มากนัก เพราะสามารถพูดคุยสร้างข้อตกลงได้ง่าย
ถ้าผู้เรียนจานวนมากอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันได้

4. เทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทยที่เน้นศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน
          เนื่องจากการเรียนนาฏศิลป์ไทยเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ผู้เรียนแต่ละคนมีการรับรู้ที่
แตกต่างกันอยู่แล้ว และยิ่งระบบประสาทสัมผัส การสั่งสมองให้ร่างกายเคลื่อนไหวตามท่วงทีลีลา ไม่สามารถปฏิบัติได้เหมือนกันทุกคน ฉะนั้นในการเรียนครูผู้สอนจะไม่นาวิธีการถ่ายทอดท่าราแบบเดียวกันมาใช้กับผู้เรียนทุกคน แต่ครูจะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามศักยภาพ คือ เก่ง ปานกลาง อ่อน ดังนี้
          - กลุ่มเก่งนั้น ครูถ่ายทอดท่าราแบบครูสาธิตและมีการบูรณาการการเรียนรู้กับรายวิชาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมบ้าง เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ฝึกประสบการณ์จริงในการแสดง
          - กลุ่มปานกลาง เพิ่มเติมการฝึกปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น เน้นการปฏิบัติท่าราซ้า เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะท่าราที่ดีมากยิ่งขึ้น
          - กลุ่มอ่อนนั้นผู้สอนจาเป็นต้องใกล้ชิดนักเรียนเป็นพิเศษ ใช้หลักจิตวิทยาในการสอนมากยิ่งขึ้น ครูต้องอดทนสูงเพราะนักเรียนไม่สามารถจดจาท่าราได้มากนัก อาจมีการบอดจังหวะ คือฟังจังหวะไม่ออก ต้องคอยกากับจังหวะให้ เน้นให้พัฒนาตนเอง ถ้าผู้เรียนสามารถปรับปรุงตนเองได้ถือว่าประสบความสาเร็จเป็นอย่างดี
          จุดเด่น สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะเกิดความชานาญตามความถนัดของตนเองและยังสามารถช่วยเหลือในกลุ่มผู้เรียนอ่อนได้อีกด้วย
          ข้อจากัด อาจจะให้เวลาในการฝึกที่ไม่เท่ากันจึงต้องมีการยืดหยุ่นเวลามาก

3 ความคิดเห็น:

  1. นาฏศิลป์ไทย เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ กระบวนการ กลวิธีและเทคนิคในการสอนมากกว่าสาขาวิชาอื่นๆ บวกกับผู้ที่จะทำการสอนและผู้ที่เรียนจะต้องมีใจรักในด้านนาฏศิลป์ดนตรีจึงจะมีความสุขในการเรียน
    *ทิติภา กรองใจ*

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ค่ะคุณครู...การที่รักในสิ่งที่เรียนจะทำให้การเรียนออกมาเป็นที่น่าภาคภูมิใจค่ะ และมีความสุขที่จะเรียนรู้อยู่เสมอๆ

      ลบ
    2. ครูสอนคณิตศาสตร์ แต่เมื่อมีโอกาสเข้ามาในรั้วเขียวขาว ก็มีความรักและภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทย

      ลบ