วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

องค์ความรู้ เรื่องเทคนิคการทำวิจัยในชั้นเรียน

การจัดการความรู้
เรื่อง เทคนิคการทาวิจัยในชั้นเรียน
โดย วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””


กระบวนการวิจัยมีความเกี่ยวข้องทั้งนักเรียน ครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาทุกระดับ จึงจะทาให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริงมีเป้าหมายของการปฏิรูปการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ โดยให้ผู้เรียนเกิดทักษะ กระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียนจึงเป็นเสมือนกระบวนการที่นาพาไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ด้วยการที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ นาไปแก้ปัญหา สร้างสรรค์และประยุกต์ในชีวิตประจาวัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กาหนดให้นาการวิจัยมาใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ดังนี้
          1. การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ มุ่งให้ผู้เรียนทาวิจัย
          2. การวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งให้ผู้สอนสามารถทาวิจัย
          3. การวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
          จะเห็นได้ว่าการวิจัย เป็นกระบวนการที่นามาซึ่งการพัฒนาด้านการจัดการศึกษาและมีความจำเป็น
อย่างยิ่งที่ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องพึงตระหนักและสามารถดาเนินการวิจัยได้อย่างง่าย โดยมีความเข้าใจในสิ่งที่จะดาเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง

กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
          กระบวนการวิจัยเพื่อการเรียนรู้ ได้มีการนากระบวนการวิจัยทั่วไปมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนรู้หรือการพัฒนาผู้เรียนเป็นสาคัญ ดังนั้นในขั้นการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา จึงต้องเน้นไปที่ผลการพัฒนาผู้เรียน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติ และที่สาคัญก่อนที่ผู้สอนจะใช้การวิจัย ในกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน จึงควรมีการดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ดังนี้
          1. ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ควรใช้กระบวนการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
          2. ทาวิจัยเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
          3. นาผลการวิจัยมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน

การทาวิจัยในชั้นเรียน
          การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยที่สามารถแสดงผลการวิจัยที่เป็นรูปธรรม ใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาและพัฒนางานได้ ที่เรียกว่า การวิจัยเพื่อการพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้
          ขั้นที่ 1 การหนดปัญหา
          ปัญหาในที่นี้คือปัญหาที่จะแก้ไขหรือสิ่งที่จะพัฒนาที่เรามักจะประสบในการปฏิบัติงานหรือจากการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือจากแนวคิดที่ต้องการพัฒนา
          ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา
          เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาที่ต้องการแก้ไขนั้นเป็นปัญหาจริงหรือไม่ มีความสาคัญอย่างไร โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสอบถามหรือสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการคิดไตร่ตรองอย่าง ถี่ถ้วนรอบคอบ
          ขั้นที่ 3 กาหนดแนวทางแก้ปัญหา
          ในขั้นนี้เป็นการศึกษาหาแนวทางหรือวิธีการที่จะนามาแก้ปัญหานั้นๆ วิธีการหรือแนวทางที่จะนามาแก้ปัญหาต้องเป็นวิธีการใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีผู้ใดนามาใช้ เราเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) การที่จะแสวงหาสิ่งใหม่ๆได้ก็ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
          ขั้นที่ 4 ดาเนินการพัฒนานวัตกรรม
          ในการพัฒนานวัตกรรมนั้นย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของนวัตกรรมว่าเป็นอะไร เช่น วิธีสอน ชุดการสอน บทเรียนสาเร็จรูป คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งไม่จาเป็นว่าจะต้องสร้างขึ้นมาเองอาจมาจากการนามาพัฒนาต่อยอดของผู้อื่น จากนั้นจึงตรวจสอบปรับปรุงในขั้นต้นเพื่อความชัดเจนและแน่ใจในการนามาใช้จริง
          ขั้นที่ 5 ทดลองใช้นวัตกรรม
          เมื่อเราสร้างนวัตกรรมสาเร็จลงแล้ว ก่อนการนาไปใช้ในการแก้ปัญหาจริง จาเป็นอย่างยิ่งต้องหาคุณภาพให้แน่ใจก่อนว่าสามรถนาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โดยพยายามหารสถานการณ์ที่ใกล้เคียงหรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบก็จะดียิ่ง
          ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไขโดยอาศัยผลจากการทดลองใช้นวัตกรรม
          เมื่อทดลองใช้เสร็จแล้ว เราสามารถทราบว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้นดีหรือไม่ สามารถนามาแก้ปัญหาได้อย่างไร สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ มีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขอย่างไร หากไม่พบข้อบกพร่องแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมนั้นมีความสมบูรณ์ถือว่าใช้ได้ โดยปกตินวัตกรรมอาจต้องมีการแก้ไขปรับปรุงขึ้นบ้างไม่ใช่ปัญหา ผู้วิจัยจึงควรหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขจนสามารถนามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาอีกทางหนึ่ง
          เมื่อดาเนินการครบทุกขั้นตอนแล้ว สามารถเขียนอธิบายตามกระบวนการทั้ง 6 ขั้นตอน เราจะได้รายงานผลการวิจัย 1 เล่ม ซึ่งเป็นลักษณะของงานวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของตนเอง รวมทั้งการพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นตามความมุ่งหมายที่กาหนด

รูปแบบการรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน
          รูปแบบการรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน สามารถจัดทาได้ 2 รูปแบบ คือ
          1. รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบไม่เป็นทางการ คือการนาเสนออย่างสั้นๆ ไม่ยึด
รูปแบบการนาเสนอที่ตายตัว แต่ต้องมีสาระครบถ้วนที่ทาให้เข้าใจสิ่งที่ศึกษาและต้นพบ ควรแสดงหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนการที่มีผลสะท้อนกลับเพื่อเป็นข้อมูลยืนยันข้อสรุปที่ได้จากการวิจัย ดังนั้นจึงต้องอาศัยประสบการณ์และมุมมองในการวิพากษ์ วิจารณ์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนร่วมงานผู้มีส่วนร่วม จะทาให้ผลของการวิจัยมีความสมบูรณ์ แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ
          2. รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ เป็นการนาเสนอที่มีรูปแบบของ
หัวข้อการรายงานที่เป็นแบบแผน ตายตัว คือ
              2.1 บทที่ 1 บทนา ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา คาถามวิจัย กรอบความคิดของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย นิยามคาศัพท์ ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย และประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
              2.2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
              2.3 วิธีดาเนินการวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
              2.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
              2.5 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
              2.6 บรรณานุกรม
              2.7 ภาคผนวก
รายงานการวิจัยที่นาเสนอแบบเป็นทางการนี้ จะใช้ศัพท์เทคนิค ในเชิงวิชาการที่เป็นที่เข้าใจของกลุ่มนักวิจัย ซึ่งหากฝึกการทาวิจัยจนมีความรู้ความชานาญก็สามารถที่จะเป็นนักวิจัยที่มีคุณลักษณะและมีคุณภาพได้อย่างไรก็ดีเพื่อให้มีความเป็นไปได้ของการเขียนรายงานการวิจัยของครูซึ่งไม่ยากจนเกินไป ภายใต้แนวคิดที่ว่า การรายงานวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นรายงานที่ให้ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหา และครูใช้กระบวนการวิจัยที่เชื่อถือได้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นที่ยอมรับในเชิงประจักษ์ ดังนั้นการรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนจึงควรมีองค์ประกอบที่สาคัญ ดังนี้
          1. ชื่อเรื่องการวิจัย
          2. ปัญหาและความสาคัญของปัญหา
          3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          4. วิธีการวิจัย ได้แก่
              - กลุ่มเป้าหมาย
              - วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้
              - วิธีการรวบรวมข้อมูล
              - วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
              - ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
          5. สรุปและสะท้อนผล
              องค์ประกอบเหล่านี้เป็นวิธีการที่ครูสามารถฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะและประสบการณ์ที่ดี
ย่อมนาพาให้การแก้ปัญหาผู้เรียนเป็นไปอย่างชัดเจน ตรงตามเจตนารมณ์ในการที่จะช่วยผู้เรียนให้พัฒนาศักยภาพในทางที่ดีขึ้น

เทคนิคในการทาวิจัยในชั้นเรียน
          การทาวิจัยในชั้นเรียน ครูแต่ละคนย่อมมีวิธีการที่จะทาให้ผลของการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ครูกาหนด จากการร่วมประชุมจัดให้มีการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เรื่อง เทคนิคการทาวิจัยในชั้นเรียน ของคณะครู วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี โดยได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทาวิจัยในชั้นเรียน ของบุคลากรแต่ละท่านทาให้พบมุมมอง แนวทาง วิธีการที่เป็นส่วนหนึ่งของการประสบผลสาเร็จในการทาวิจัยในชั้นเรียน สรุปได้ ดังนี้
          1. เทคนิควิธีการทาวิจัยเริ่มต้นด้วยจากการค้นหาปัญหาผู้เรียน และแนวทางในการแก้ปัญหา
ให้ตรงประเด็นที่จะแก้ไข และสามารถทาได้จริงเพื่อนาไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมชัดเจนการเลือกปัญหาถ้าครูพบว่ามีหลายปัญหาที่ต้องการแก้ไข ควรพิจารณาจัดลาดับก่อนว่าปัญหานั้นๆ มีผลกระทบต่อการเรียน การสอนมากน้อยเพียงใด และส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์และความสาเร็จของผู้เรียนอย่างไร
          2. การกาหนดจุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และไม่จาเป็นต้อง
มีมากข้อ แต่กาหนดให้ตรงกับความเป็นจริงที่เราประสบเพื่อการแก้ไขได้ตรงจุดประสงค์
          3. การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และลุ่มลึก เพื่อครูจะได้แสวงหาวิธีแก้ปัญหาได้
ถูกตรง โดยจากการสังเกต พูดคุยกับผู้เรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง ทดสอบ พิจารณาผลงาน ฯลฯ
          4. วิธีการแก้ปัญหาต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีความหลากหลาย เช่น การให้ใบงาน
การใช้กิจกรรม การสร้างสื่อนวัตกรรม การช่วยเหลือต่อกันในชั้นเรียนที่เรียกว่าเพื่อนช่วยเพื่อน การเสริมแรง การเป็นกันเอง การเอาใจใส่ เป็นต้น
          5. ในการสร้างนวัตกรรม ครูควรศึกษา ออกแบบตลอดจนการทดลองใช้อย่างเหมาะสมหาก
ต้องปรับปรุงแก้ไข ครูควรทาอย่างเร่งด่วนและก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ที่สาคัญครูพึงตระหนักถึงการใช้อย่างสมดุลย์ คุ้มค่าเหมาะสมกับสภาพปัญหา
          6. ควรศึกษางานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือเอกสารตารา หาแนวทางแก้ปัญหาจากเอกสาร เพื่อ
เป็นแนวทาง นาหลักการที่เกี่ยวข้องเพื่อนามาใช้แก้ปัญหาจะดียิ่ง เพื่อนามาพัฒนาการทาวิจัยในชั้นเรียนของตน ให้มีความหลากหลายและน่าเชื่อถือทั้งยังแก้ปัญหาผู้เรียน สู่การพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
          7. การทาวิจัยในชั้นเรียนครูควรทาไปพร้อมๆ กับกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้
ขั้นตอนเหมือนวิจัยทั่วๆ ไป แต่มุ่งเพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียน ดังนั้น ครูควรสังเกต และจดบันทึก ทุกครั้งที่ทาการสอนเพื่อสะดวกในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
          8. วางแผนดาเนินการ กาหนดขั้นตอนให้ชัดเจน เครื่องมือที่ใช้คืออะไร เช่น แบบฝึกทักษะ แผนการสอน (วิธีสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ฯลฯ และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสังเกต แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ ฯลฯ
9. มีการลงมือปฏิบัติตามแผน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ดาเนินการแก้ปัญหาไปพร้อมกับๆ กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยไม่ให้กระทบกับนักเรียนที่ไม่ได้มีปัญหา
          10. ในการสรุปข้อมูล อภิปรายผล และรายงานวิจัยในชั้นเรียน เมื่อได้ใช้วิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหาแล้ว นามาสรุป และอภิปรายผล และทารายงานวิจัยในชั้นเรียนต่อไป ซึ่งจะในลักษณะวิจัยหน้าเดียว หรือ 5 บทก็ได้
          11. ครูควรมีคุณธรรมและหลักจิตวิทยาควบคู่ ในเรื่องของความมีพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา
กรุณา มุฑิตา อุเบกขา และพึงระลึกอยู่เสมอว่าทุกคนย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะระดับสติปัญญาซึ่งเด็กมีไม่เท่ากัน ครูควรเข้าใจอย่างถ่องแท้และใช้วิธีการอย่างเหมาะสมในเชิงคุณธรรมและ หลักจิตวิทยา
          12. มีการเสริมแรงและให้กาลังใจ แก่ตนเองและนักเรียน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคสร้าง
แรงจูงใจเสริมแรง คาชม สร้างความเชื่อมั่น สอดแทรกคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่น และเห็นความสาคัญของตนพร้อมที่จะร่วมมือกับครูอย่างเต็มที่
การทาวิจัยในชั้นเรียน เป็นการช่วยแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ครูทุกคนสามารถดาเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะครูเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิด ที่ทาหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน ดังนั้น ครูสามารถทราบว่านักเรียนมีปัญหาอะไร การจัดการเรียนการสอนควรปรับเปลี่ยนอย่างไร ควรนากิจกรรมอะไรมาเสริมสร้าง จัดนวัตกรรมอย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดการพัฒนาตามการค้นพบของครู สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างและพัฒนาทั้งตัวครูและนักเรียน รวมทั้งสถานศึกษาให้มีความน่าเชื่อถือ ความศรัทธาแก่บุคคลทั่วไปในฐานะเป็นกลไกทางการศึกษา ที่พัฒนาคนให้เป็นกาลังที่ดีด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม มีศักยภาพเพื่อร่วมสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญเป็นที่ยอมรับแก่นานาประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี ที่สาคัญการนาเทคนิคการทาวิจัยในชั้นเรียน อันเป็นองค์ความรู้ที่บุคลากรขอวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรีร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางในการทาวิจัยในชั้นเรียนให้กับครู นับว่าเป็นประโยชน์แก่วงการการศึกษาของไทยอีกแขนงหนึ่ง

2 ความคิดเห็น:

  1. การวิจัยในชั้นเรียน เป็นหน้าที่ของครูทุกคนที่จะต้องทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงหรือนำไปพัฒนาการเรียนการสอน

    ตอบลบ
  2. Top 100 slots, casino, table games, video poker
    Best 여주 출장안마 Slots · 1. Wild West 전라북도 출장안마 Gold Deluxe · 2. Wild West Gold Deluxe · 3. Wild West Gold Deluxe 경상남도 출장마사지 · 4. Wheelz · 5. 계룡 출장안마 Wild West Gold 구미 출장안마 Deluxe · 6.

    ตอบลบ