การจัดการความรู้
เรื่อง
เพลงพวงมาลัย อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี
ความหมายเพลงพวงมาลัย
เพลงพวงมาลัย หมายถึง
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ที่ร้องในเทศกาลและเล่นควบคู่กับการละเล่นพื้นบ้าน คือ
ลูกช่วง หรือช่วงชัย จัดเป็นเพลงร้องที่ร้องทั่วไปและโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง
มีลักษณะคำร้องที่เป็นเอกลักษณ์ คือขึ้นต้นว่า เอ่อระเหยลอยมา หรือ เอ่อระเหยลอยไป และลงท้ายด้วยคำว่า
เอย
ประวัติเพลงพวงมาลัย
เพลงพวงมาลัยเป็นการเล่นพื้นเมืองที่มีมาแต่โบราณราวร้อยกว่าปี
นิยมเล่นกันในบริเวณภาคกลาง โดยใช้เป็นเพลงปรับในการเล่นกีฬาพื้นบ้านที่เรียกว่า “ช่วงชัย” หรือ “ลูกช่วง”
และบางถิ่นใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาวเพลงพวงมาลัยเป็นเพลงที่นิยมเล่นกันในช่วงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่เพลงพวงมาลัยได้มีการเขียนบันทึกรูปแบบการละเล่นไว้อย่างชัดเจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้านถิ่นที่ปรากฏของเพลงพวงมาลัย พบว่ามีแพร่กระจายอยู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
ในเขตภาคกลางด้านตะวันตกและตอนล่างพบในจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม
ราชบุรี และเพชรบุรี จากถิ่นที่ปรากฏของเพลงพวงมาลัยนี้
เมื่อสำรวจดูพบว่าเป็นชุมชนไทยดั้งเดิมที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ส่วนประวัติเพลงพวงมาลัยอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นเพลงที่ชาวบ้านในท้องถิ่นขับร้องและเล่นกันมานานราวเกือบสองร้อยปี โดยเล่นควบคู่กับการละเล่นของไทยที่เรียกว่าลูกช่วง
หรือ ช่วงชัย การละเล่น ลูกช่วงพวงมาลัยของชาวบ้านอำเภออู่ทอง
ในอดีตนับว่าเป็นวิถีที่ควบคู่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาล ตรุษ สงกรานต์ สถานที่เล่น
คือลานวัด ลานบ้าน
ลักษณะของการละเล่นเพลงพวงมาลัย
เริ่มการเล่นเพลงพวงมาลัย
ด้วยการไหว้ครู การเล่นเพลงพวงมาลัยนั้น มีทั้งการหันหน้าเข้าหากันของพ่อเพลง แม่เพลงทั้งสองฝ่าย
ส่วนใหญ่นิยมตั้งเป็นวง แบ่งเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอยู่กันฝ่ายละครึ่งวงกลม แต่ละฝ่ายจะมีพ่อเพลงแม่เพลง (พ่อพวง แม่พวง) ข้างละ 1 คน และมีลูกคู่เท่าไรก็ได้แล้วแต่วงเล็กวงใหญ่ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า3
คนเป็นอย่างน้อย การเล่นเพลงพวงมาลัย แต่เดิมนั้นผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จะประกอบด้วยผู้เล่นหลายรุ่นด้วยกัน คือมีเด็ก หนุ่มสาว และผู้สูงอายุ
โดยมีผู้สูงอายุที่เล่นเพลงพวงมาลัยเป็นและเป็นคนในพื้นถิ่นมาเป็นผู้ตั้งวงเล่นเพลงไว้และคอยดูแลให้หนุ่มสาวเล่นเพลงกันไปด้วยความเรียบร้อย
ส่วนเด็กจะช่วยกันปรบมือให้จังหวะและร้องรับร้องกระทุ้งอันเป็นการฝึกการเล่นเพลงพวงมาลัยไปในตัว
ลักษณะบทร้องที่ใช้ในการเล่นเพลงพวงมาลัย
การเล่นเพลงพวงมาลัยโดยทั่วไป จะมีโครงสร้างของบทร้องที่เล่นคล้ายกับเพลงร้องโต้ตอบทั่วไปตามลำดับของการเล่น ได้แก่ บทไหว้ครู บทออกตัวหรือบทเกริ่น บทประ หรือบททักทาย บทผูกรัก บทสู่ขอหรือลักหาพาหนี บทชิงชู้หรือตีหมากผัว (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) และบทจาก ซึ่งเนื้อหาของเรื่องที่เล่นในแต่ละขั้นตอนมีลักษณะที่สะท้อนความเชื่อ ขนบ จารีต ของท้องถิ่น
ตัวอย่างบทร้อง
เอ่อระเหยลอยมา ลอยมาก็ลอยไป
พี่ตั้งใจมาหา ให้น้องช่วยรับหน้าพี่ไว้
ให้ลงมาเล่นกันไวไว กับพวกพี่ชายหน่อยเอย (ลูกคู่รับ)
คำศัพท์เฉพาะเพลงพวงมาลัย
ลำดับที่
|
ศัพท์เพลงพื้นบ้าน
|
ความหมาย
|
1.
|
พ่อพวง
|
มีความหมายเดียวกับคำว่า
พ่อเพลง หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ในการขับร้องเพลงพวงมาลัย ฝ่ายชาย
|
2.
|
แม่พวง
|
มีความหมายเดียวกับคำว่า
แม่เพลง หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ในการขับร้องเพลงพวงมาลัย ฝ่ายหญิง
|
3.
|
พวง
|
ลักษณะนามของบทขับร้องเพลงพวงมาลัย
เช่น
1 บท เรียกว่า 1 พวง 2 บท เรียกว่า 2
พวง เป็นต้น
|
4.
|
กลอนตับ
|
กลอนชุดต่าง
ๆผูกเป็นเรื่องราว ร้องยาวต่อเนื่องกัน
|
5.
|
กลอนหัวเดียว
|
กลอนที่คำลงท้ายวรรคหลังใช้สระเสียงเดียวกัน
เช่น กลอนลี คือคำสุดท้ายวรรคหลังใช้สระ อี ทุกคำ กลอนไล คือคำสุดท้ายวรรคหลังใช้
สระไอ เป็นต้น
|
6.
|
ครูเพลง
|
ครูผู้ถ่ายทอดกลอนเพลงพื้นบ้าน
ที่เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาท วิชาโดยเริ่มตั้งแต่จับข้อมือรับเป็นศิษย์
และอีกนัยหนึ่งคือครูที่เป็นเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ที่เคารพนับถือทางจิตใจตามธรรมเนียมที่ยึดถือสืบต่อกันมาของการแสดงเพลงพื้นบ้าน
|
7.
|
ด้น
|
การคิดคำร้องขึ้นมาทันทีทันใดของเพลงพื้นบ้าน โดยที่ไม่มีการเตรียมบทร้องไว้ล่วงหน้า
โดยให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์การแสดงที่เกิดขึ้น
|
8.
|
พวงมาลัยสั้น
|
บทการขับร้องเพลงพวงมาลัย
ที่เป็นบทสั้น ไม่เกิน 3
คำลง
|
9.
|
พวงมาลัยยาว
|
บทการขับร้องเพลงพวงมาลัย
ที่เป็นบทขับร้องมีความยาวเกินกว่า 3 ทัด
และมักร้องติดต่อกันโดยมีเนื้อหาของบทต่อเนื่องกัน บางเรื่องมีความยาวถึง 60
บาท หรือ บรรทัดก็มี
|
10.
|
บทประ
( ปะ – หระ )
|
การโต้ตอบด้วยบทร้องเพลงพื้นบ้าน
ระหว่างพ่อเพลงและแม่เพลงที่มีความสนุกสนาน
ในบทต่างๆ เช่น ชิงรักหักสวาท การต่อว่า การเปรียบเทียบเปรียบเปรย
|
11.
|
ลูกคู่
|
ผู้ทำหน้าที่ร้องรับทำนองของพ่อเพลง
แม่เพลง ซึ่งมีมากกว่า จำนวน 1 คน ขึ้นไป
|
![]() |
ครูบัว สังข์วรรณะ ไหว้ครูเป็นศิริมงคล เพื่อเตรียมเล่มเพลงพวงมาลัย |
![]() |
สาธิตเล่นเพลงพวงมาลัย โดยพ่อพวง แม่พวง จากวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ตามแนวทางครูบัว สังข์วรรณะ |
![]() |
คณะทำงานการจัดการความรู้ (KM) กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม |